กลูตาไธโอน (Glutathione)
เรื่องน่ารู้ของกลูตาไธโอนกับความกระจ่างใสของผิว
กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ โดยผลิตได้ที่ตับ ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ
1. กลูตาเมต (Glutamate)
2. ซีสเทอีน (Cysteine)
3. ไกลซีน (Glycine (1)
กลูตาไธโอนพบอยู่ในกลุ่มผัก ผลไม้สดและถั่ว ส่วนกลุ่มมะเขือเทศ อะโวคาโด ส้ม วอนัทและหน่อไม้ฝรั่งช่วยทีเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในร่างกาย รวมไปถึงกลุ่มอาหารประเภทเวย์ โปรตีน(2) แต่การรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้กับร่างกาย เนื่องจากอนุมูลอิสระสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งจากกระบวนการหายใจ การย่อยอาหาร แสงแดด มลภาวะ ความเครียด และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้สารแอลกลูตาไธโอนในร่างกายลดลง จึงทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์มีแอลกลูตาไธโอนเป็นส่วนประกอบจึงเป็นอีกทางเลือก
บทบาทที่สำคัญของแอลกลูตาไธโอน คือ ยับยั้งการสร้างเม็ดสีดำ ช่วยลดความคล้ำของผิวโดยสารกลูตาไธโอนจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินชนิดสีดำ ทำให้ร่างกายจะสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินชนิดสีชมพูแทนทำให้สีผิวขาวขึ้น(3),(4)ส่งผลให้ผิวดูกระจ่างใสขาวอมชมพู
กลไกการทำงานดังนี้
นอกจากนี้ กลูตาไธโอนยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ดังนี้
1. Antioxidation (ต้านอนุมูลอิสระ) กลูตาไธโอนจะถูกเปลี่ยนเป็นเอนไซม์ glutathione peroxidase มีคุณสมบัติเป็นสารantioxidant ที่สำคัญของร่างกาย ทำงานร่วมกับวิตามินซีและอีสามารถช่วยความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย(2)
2. Detoxification (ขับสารพิษ) กลูตาไธโอนช่วยสร้างเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะ glutathiones-transferse ที่ตับ ช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายโดย เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลงเป็นต้น( 3),(4)
เอกสารอ้างอิง
1. Glutathione in defense and signaling: lessons from a small thiol. Ann N Y Acad Sci. 2002 Nov;973:488-504.
2. Glutathione as a skin whitening agent: Facts, myths, evidence and controversies. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2016 May-Jun;82(3):262-72. doi: 10.4103/0378-6323.179088.
3. Glutathione and its antiaging and antimelanogenic effects. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2017; 10: 147–153.
4. วารสาร เพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2558